เอกภพเป็นระบบรวมของดาราจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก เชื่อกันว่าในเอกภพมีดาราจักรรวมอยู่นับหมื่นล้านดาราจักร ในแต่ละดาราจักรจะประกอบด้วยระบบของดาวฤกษ์ กระจุกดาว เนบิวลา ฝุ่น ก๊าซ และที่ว่างรวมกันอยู่
เชื่อกันว่าเอกภพ คือจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง ระบบสุริยะและโลกได้ถือกำเนิดจากการรวมตัวของฝุ่นผง ความจริงแล้วไม่เพียงแต่ระบบสุริยะ ดวงดาว และกาแล็กซีเท่านั้น แม้แต่ตัวเราเองก็กำเนิดจากการรวมตัวของมวลสารในโลกอันได้แก่ อะตอมและ โมเลกุล ซึ่งประกอบกันขึ้นโดยมีรูปแบบการรวมตัวที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่ามวลสารที่เคยมีอยู่เดิมนั้น ก็ยังคงยังมีอยู่แต่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการรวมตัวเท่านั้น
ปัจจุบันอะตอมและโมเลกุลมาจากที่ใด ก็ยังมีข้อสรุปและไม่มีทฤษฎีที่แน่ชัด ทฤษฎีการระเบิดใหญ่ หรือทฤษฎีบิกแบง โดย เลแมตร์ ได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตเอกภพมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6,400 กิโลเมตร เลอร์แมตร์ เรียกทรงกลมที่เป็นจุดกำเนิดของสสารนี้ว่า อะตอมดึกดำบรรพ์ (Primeval Atom) เป็นอะตอมขนาดยักษ์ น้ำหนักประมาณ 2 พันล้านตันต่อลูกบาศก์นิ้ว
จากจุดที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่าอะตอม จุดที่มีอุณหภูมิและความหนาแน่นเป็นอนันต์ จุดที่รวมแรงทั้ง 4 ในธรรมชาติไว้เป็นหนึ่งเดียวก่อนจะเกิดการขยายตัว หรือการระเบิดออกอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพ สสาร และพลังงาน รวมถึงที่ว่าง และกาลเวลา ส่งสสารและพลังงานไปในห้วงอวกาศ ให้กำเนิดดวงดาวและกาแล็กซี จนเป็นจักรวาลอย่างที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม จักรวาลนั้นยังเต็มไปด้วยปริศนาที่เรายังไม่สามารถหาคำตอบได้ เช่น ก่อนหน้าการเกิดบิ๊กแบงมีสิ่งใดดำรงอยู่ หรือในห้วงอวกาศอันว่างเปล่านั้น มีสสารอะไรที่สามารถพยุงกาแล็กซีให้คงอยู่ในรูปร่างที่เราเห็นเช่นในปัจจุบันนี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าในความเวิ้งว้างนั้น มีสสารมืดและพลังงานมืดที่เรายังไม่สามารถหาคำอธิบายได้ดำรงอยู่ สสารมืด ที่นักดาราศาสตร์ทราบถึงการคงอยู่ของมัน จากอิทธิพลของแรงดึงดูดเพียงเท่านั้น สสารที่ไม่สะท้อนแสงและไม่มีแรงแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆ รวมถึงพลังงานลึกลับที่ครอบคลุมถึงร้อยละ 70 ของปริมาณมวลและพลังงานในจักรวาล ขณะที่สสารที่เรารู้จัก จากตัวเราจนถึงดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นเพียงสัดส่วนอันน้อยนิด (ร้อยละ 4) ในจักรวาลอันกว้างใหญ่แห่งนี้
-----------
ถัดไป : เราใหญ่แค่ไหนในจักรวาล EP2
-----------
อ้างอิง
- National Geographic
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
#KasidateToday
ปฐมบทของจักรวาล
อัปเดตเมื่อ 2 ต.ค. 2563
Comments