top of page
รูปภาพนักเขียนKasidate

รวมเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ในเดือนมิถุนายน 2563

#KasidateTalk สุริยุปราคา 26 มิถุนายน 2563 ครั้งสุดท้ายในรอบ 3 ปีที่คนไทยจะมีโอกาสได้เห็น


ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนกระทั่งสิ้นเดือนนี้ มีเหตุการณ์สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์และอวกาศ หลายอย่างมาก


เริ่มกันที่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด Falcon 9 ส่ง แคปซูล crew dragon ที่พานักบินอวกาศสหรัฐฯ ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS และนี่คือครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่สหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศในแผ่นดินสหรัฐฯ (ที่ผ่านมา NASA ใช้บริการยานของประเทศรัสเซีย) และเป็นครั้งแรกที่เอกชนสามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ


ความน่าสนใจครั้งนี้อยู่ที่เทคโนโลยีที่ทันสมัยของยาน ทำให้เราแทบจะลืมความเป็นยานอวกาศแทบเก่าๆ ไปเลย ทั้งระบบการควบคุมยานที่นักบินแทบไม่ต้องจัดการเองเลย ระบบอัตโนมัติเกิอบทั้งสิ้น ชุดนักบินอวกาศที่ไม่ได้ใหญ่เทอะทะเหมือนแต่ก่อน การควบคุมยาน และตรวจสอบข้อมูลฐานผ่านหน้าจอทัชสกรีน การเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศที่เป็นอัตโนมัติ ห้องโดยสารที่ใหญ่และกว้างกว่าแต่ก่อนเยอะ แทบจะทำให้ลืมภาพของยานอวกาศกันไปเลย


ความน่าสนใจครั้งนี้อยู่ที่เทคโนโลยีที่ทันสมัยของยาน ทำให้เราแทบจะลืมความเป็นยานอวกาศแทบเก่าๆ ไปเลย ทั้งระบบการควบคุมยานที่นักบินแทบไม่ต้องจัดการเองเลย ระบบอัตโนมัติเกิอบทั้งสิ้น ชุดนักบินอวกาศที่ไม่ได้ใหญ่เทอะทะเหมือนแต่ก่อน การควบคุมยาน และตรวจสอบข้อมูลฐานผ่านหน้าจอทัชสกรีน การเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศที่เป็นอัตโนมัติ ห้องโดยสารที่ใหญ่และกว้างกว่าแต่ก่อนเยอะ แทบจะทำให้ลืมภาพของยานอวกาศกันไปเลย

 

ต่อกันด้วยเหตุการทางดาราศาสตร์ ในคืนวันศุกร์ข้ามเกี่ยวช่วงเช้าวันเสาร์ กับจันทรุปราคาเงามัว โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่เวลา 00.46 เป็นต้นไป จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัว เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี โดยดวงจันทร์จะเข้าสู่เงามัวของโลกมากที่สุดในเวลาประมาณ 02.25 น. ของวันที่ 6 มิถุนายน และสิ้นสุดปรากฏารณ์ในเวลา 04.04 น. ซึ่งปรากฏการณ์นี้ยากต่อการสังเกตด้วยตาเปล่า ดังนั้นการถ่ายภาพจึงช่วยให้เราสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัวได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สำหรับเหตุการณ์จันทรุปราคา เกิดจาก การที่ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยที่โลกอยู่ตรงกลาง แสงจากดวงอาทิตย์ ที่ส่องไปยังดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังบางส่วน ให้เราเห็นดวงจันทร์มืดลง จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง

จันทรุปราคาสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทตามลักษณะการเกิด คือ

จันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เนื่องจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะถูกหักเหเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก สีแดงและสีส้มเบี่ยงทิศทางเข้าหากลางเงามืด จึงมองเห็น

ดวงจันทร์เป็นสีแดงระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง


จันทรุปราคาบางส่วน เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง

จันทรุปราคาเงามัว เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด เรายังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก

 

อีกปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์สำคัญ คือสุริยุปราคาวงแหวน ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 เวลาประมาณ 14:42 น. โดยปรากฏการณ์นี้บนพื้นโลกจะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน แนวคราสวงแหวน พาดผ่านฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา คาบสมุทรอาหรับ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิก แต่สำหรับประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์บางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังแตกต่างกัน ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดบริเวณภาคเหนือที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 62.70%

สำหรับสุริยุปราคาเกิดจากการที่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยที่ดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เงาของดวงจันทร์ตกลงบนโลกพอดี เวลานั้นเราจะสามารถเห็นชั้นบรรยากาศบางส่วน ของดวงอาทิตย์ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก ใช้เวลา 29.5 วัน ดังนั้นทุก ๆ เดือนเราก็น่าจะเห็นสุริยุปราคา แต่ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงประมาณ 5 องศาเทียบกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เงาของดวงจันทร์จะอยู่เหนือหรือไม่ก็ใต้โลก และจะมีแค่ 2 ปีต่อครั้ง ที่เงาของดวงจันทร์จะตกบนโลก


เงาของดวงจันทร์ที่ตกลงบนโลกมีด้วยกัน 2 ส่วนคือ

เงามัว (Penumbra) เป็นเงาที่อยู่รอบนอก

เงามืด (Umbra) เป็นเงาที่อยู่ด้านใน จึงมืดสนิท


เมื่อเงามัวของดวงจันทร์ตกลงบนผิวโลก เราจะเห็นสุริยะคราสบางส่วนได้ สุริยะคราสแบบนี้อันตรายมากเมื่อมองด้วยตาเปล่า เนื่องจากส่วนของดวงอาทิตย์ที่ไม่ได้โดนบังจะยังคงสว่างอยู่มาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเงามืดของดวงจันทร์กวาดผ่านผิวโลก เราจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ถ้าดวงจันทร์อยู่ไม่ไกลจากโลกมากเกินไป และเราเรียกเส้นทางที่เงามืดพาดผ่านนี้ว่าเส้นทางของคราสเต็มดวง (path of totality) โดยมากจะเป็นระยะทางตามยาวประมาณ 10,000 ไมล์ แต่จะกว้างเพียง 100 ไมล์ ช่วงเวลาที่เราสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนั้นสั้นมาก นอกจากนั้นโดยมากมักกินเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น อย่างไรก็ตามถ้าในขณะที่เกิดเหตุการณ์ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก จะเห็นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ในทางกลับกันถ้าดวงจันทร์อยู่ไกลกับโลก จะเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน และพื้นที่ที่ห่างจากเส้นทางของคราสของมาจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน



ทำไมจึงต้องสังเกตเหตุการณ์นี้ สุริยุปราคาครั้งนี้จะเป็นสุริยุปราคาครั้งสุดท้ายในรอบเกือบ 3 ปีที่คนไทยสามารถสังเกตได้ หลังจากครั้งนี้ สุริยุปราคาที่เห็นได้ในประเทศไทยครั้งถัดไปเป็นสุริยุปราคาในวันที่ 20 เมษายน 2566 โดยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน มีเพียงส่วนน้อยของประเทศที่เห็นได้ เช่น ภาคใต้ตอนล่าง บางส่วนของตราด และด้านตะวันออกเฉียงใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ และส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถเห็นได้) และดวงอาทิตย์แหว่งไม่มาก หลังจากนั้นต้องรออีก 4 ปี คนไทยทั่วประเทศจึงจะมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาอีกครั้งในวันที่ 2 สิงหาคม 2570 จากข้อมูลนี้ แสดงว่าสุริยุปราคาในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 จะเป็นโอกาสสุดท้ายในรอบหลายปีสำหรับคนในกรุงเทพฯ และคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะหลังจากนั้นต้องรอนานถึง 7 ปี จึงจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาได้อีกครั้ง (ข้อมูล : สดร.)


KasidateToday เกาะติดเหตุการณ์สุริยุปราคา 26 มิถุนายน 2563 รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ ก่อน และหลังเหตุการณ์มาประมวลไว้ใน #KasidateToday ตลอดเดือนมิถุนายนนี้ อย่าลืมติดตามกันนะครับ!!

บทความโดย KasidateToday


ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page